ภาษีป้าย
การจัดเก็บภาษีป้าย
1. ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย
1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ได้แก่
2.1 เจ้าของป้าย
ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
เจ้าของป้ายที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. 1) ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี
ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี
การชำระภาษีป้าย
เจ้าของป้ายมีหน้าที่ชำระภาษีป้ายเป็นรายปี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
เงินเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้ายเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษี
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย
การคำนวณพื้นที่ป้าย อัตราค่าภาษีป้าย และการคำนวณภาษีป้าย
การคำนวณพื้นที่ป้าย
ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้
พื้นที่ป้าย = ส่วนที่กว้างที่สุด x ส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้
ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด ยาวที่สุด
คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร
(ตัวอย่าง)
180 ซ.ม.
320 เซนติเมตร
พื้นที่ป้าย = 180 x 320
= 57,600 ตารางเซนติเมตร
อัตราภาษีป้าย
อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ดังนี้
อัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร)
ลักษณะ |
บาท |
1) อักษรไทยล้วน 2) อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ /ภาพ /เครื่องหมายอื่น 3) ป้ายดังต่อไปนี้ ก. ไม่มีอักษรไทย ข. อักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม 1) 2) หรือ 3) 5) ป้ายใดเสียต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท |
3 20 40 |
การคำนวณภาษีป้าย ให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้าย หารด้วย 500 คูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษี มีพื้นที่ 37,600 ตารางเซนติเมตร เป็นป้ายประเภทที่ 1 ป้ายนี้เสียภาษี ดังนี้
ภาษีป้าย = พื้นที่ป้าย (ตารางเซนติเมตร) หาร 500 คูณ อัตราภาษี
= 37,600 / 500 * 3
= 220.20 บาท
ดังนั้น ป้ายนี้จะต้องเสียภาษี 220.20 บาท
ป้ายใดคำนวณภาษีแล้วเสียต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท
การคำนวณภาษีป้าย 1 ด้าน เท่ากับ 1 ป้าย
การคำนวณค่ารายปี การคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องไปกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง นั้น
ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน = ค่ารายปี x 12.50 %
ค่ารายปี คือ จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้น สมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่าคือค่ารายปี
การคำนวณภาษี การประเมินค่ารายปี และอัตราภาษี
กรณีให้เช่า
ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปีของทรัพย์สิน ในอัตราร้อยละ 12.50 ของค่ารายปี
ตัวอย่าง บ้านให้เช่า 1,000 บาทต่อเดือน ค่ารายปี 12,000 บาท (1,000 x 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ 12,000* 12.50% เป็นเงินภาษี 1,500 บาท
กรณีไม่มีค่าเช่า
คำนวณโดยใช้บัญชีอัตราทำเล
ค่ารายปี = กว้าง * ยาว * อัตราทำเล * เดือน
ตัวอย่าง ร้านขายของชำ มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร ตั้งอยู่ทำเลที่ 1 (5 บาท) ดำเนินกิจการ 12 เดือน
ค่ารายปี = กว้าง * ยาว * อัตราทำเล * เดือน
= 6 * 6 * 5 * 12
= 2,160
ดังนั้น ค่ารายปีเท่ากับ 2,160 บาท
คิดเป็นเงินภาษี 2,160 * 12.50% = 270 บาท
ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
เจ้าของทรัพย์สินต้องยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 2) ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน เมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้ว จะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม
เงินเพิ่ม
1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ขอภาษีที่ค้าง
2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
3. ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
4. ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง
ภาษีบำรุงท้องที่
การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่เก็บจากเจ้าของที่ดิน ตามราคาปานกลางที่ดินและตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่
ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้น
กำหนดระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนมกราคมของปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน
แบบแสดงรายการที่ได้ยื่นไว้นั้นใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลา 4 ปีนั้น
อัตราภาษีบำรุงท้องที่ตำบลดอยลาน
ราคาปานกลางของที่ดินไร่ละ 4,200 บาท อัตราภาษีไร่ละ 22.50 บาท
ที่ดินที่ใช้ประกอบการกสิกรรม เฉพาะประเภทไม้ล้มลุก ให้เสียกึ่งอัตรา ( 11.25 บาท) แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเอง ให้เสียไม่เกินไร่ละ 5 บาท
ที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดินให้เสียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า (45 บาท)
****ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดิน ตามพระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 12 มิถุนายน 2520
การคำนวณภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่ คำนวณจากราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการตีราคาปานกลางที่ดินที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี คูณ กับอัตราภาษี
การลดหย่อน/การยกเว้น/การลดภาษี
บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันและใช้ที่ดินนั้น เป็นที่อยู่อาศัยของตน หรือประกอบกสิกรรมของตน ให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามเกณฑ์ โดยออกข้อบัญญัติ
ตำบลดอยลานลดหย่อน 3 ไร่
เนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี (ไร่) = เนื้อที่ถือครอง – เนื้อที่เกณฑ์ลดหย่อน
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
ตัวอย่างที่ 1 นายโชค มีที่ดินแปลงหนึ่ง เนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 ใช้ที่ดินในการประกอบกสิกรรม (ทำนา) ที่ดินดังกล่าวมีราคาปานกลางไร่ละ 4,200 บาท (เกณฑ์การลดหย่อนตำบลดอยลานกำหนดไว้ 3 ไร่)
วิธีการคำนวณอัตราภาษีบำรุงท้องที่จะดำเนินการดังนี้
1. เนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี = เนื้อที่ดินถือครอง - เนื้อที่เกณฑ์ลดหย่อน
= 15 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา - 3 ไร่
= 12 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา
2. ตรวจสอบบัญชีท้าย พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ที่ดินราคาปานกลางไร่ละ 4,200 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตราไร่ละ 22.50 บาท แต่เนื่องจากเจ้าของประกอบกสิกรรมเอง เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท
3. ภาษีที่ต้องเสีย = เนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี (ไร่) * อัตราภาษีต่อไร่
= 12 ไร่ * 5 บาท
12 ไร่ เสียภาษี = 60 บาท
= 253*5/400
2 งาน 53 ตร.ว.เสียภาษี = 4
รวมนายโชค ต้องเสีย 60 + 4 = 69 บาทต่อปี
ตัวอย่างที่ 2 นายโชค มีที่ดินแปลงหนึ่ง เนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 ใช้ที่ดินในการปลูกไม้ยืนต้น ที่ดินดังกล่าวมีราคาปานกลางไร่ละ 4,200 บาท (เกณฑ์การลดหย่อนตำบลดอยลานกำหนดไว้ 3 ไร่)
1. เนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี = เนื้อที่ดินถือครอง - เนื้อที่เกณฑ์ลดหย่อน
= 15 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา - 3 ไร่
= 12 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา
2. ตรวจสอบบัญชีท้าย พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ที่ดินราคาปานกลางไร่ละ 4,200 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตราไร่ละ 22.50 บาท
3. ภาษีที่ต้องเสีย = เนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี (ไร่) * อัตราภาษีต่อไร่
10 ไร่ เสียภาษี = 12 ไร่ * 22.50 บาท
= 270 บาท
2 งาน 53 ตร.ว.เสียภาษี = 253*22.50/400
= 15
รวมนายโชค จะต้องเสียภาษี 270+15 = 285 บาท ต่อปี